การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือการปฏิวัติเพื่อ เปลี่ยนแปลงการปกครองของ ประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
การเตรียมการเปลี่ยนแปลง
คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่งตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน แต่เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในเช้าวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่ง เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่วังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการ เพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการปะทะรุนแรงที่เสียเลือด เนื้อได้
ในการวางแผนดังกล่าวกระทำ ที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผน ควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนคร สวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม
หมุด ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ มีข้อความว่า "...ณ ที่นี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"
หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะ ดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็น 4 หน่วยด้วยกัน คือ
•หน่วยที่ 1 ทำหน้าที่ทำลายการสื่อสารและการคมนาคมที่ สำคัญ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ดำเนินการโดยทั้งฝ่าย ทหารบกและพลเรือน ทหารบกจะทำการตัดสายโทรศัพท์ของทหาร ส่วนโทรศัพท์กลางที่วัดเลียบมี นายควง อภัยวงศ์ นายประจวบ บุนนาค นายวิลาศ โอสถานนท์ ดำเนินการ โดยมีทหารเรือทำหน้าที่อารักขา ส่วนสายโทรศัพท์และสายโทรเลขตามทางรถไฟและกรมไปรษณีย์เป็นหน้าที่ของ หลวงสุนทรเทพ หัสดิน หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นต้น ซึ่งหน่วยนี้ยังรับผิดชอบคอยกันมิให้รถไฟจากต่างจังหวัดแล่นเข้ามาด้วย โดยเริ่มงานตั้งแต่เวลา 06.00 น.•หน่วยที่ 2 เป็นหน่วยเฝ้าคุม โดยมากเป็นฝ่ายพลเรือนผสมกับทหาร ทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต จากวังสวนผักกาดมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม พระประยุทธอริ ยั่น จากกรมทหารบางซื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อม ไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย โดยหน่วยนี้ดำเนินงานโดย นายทวี บุณยเกตุ นายจรูญ สืบแสง นายตั้ว ลพานุกรม หลวงอำนวยสงคราม เป็นต้น โดยฝ่ายนี้เริ่มงานตั้งแต่เวลา 01.00 น.•หน่วยที่ 3 เป็นหน่วยปฏิบัติ การเคลื่อนย้ายกำลัง ซึ่งทำหน้าที่ประสานทั้งฝ่ายทหารบกและทหารเรือ เช่น ทหารเรือจะติดไฟเรือรบ และเรือยามฝั่ง ออกเตรียมปฏิบัติ การณ์ตามลำน้ำได้ทันที•หน่วยที่ 4 เป็นฝ่ายที่เรียก กันว่า "มันสมอง" มี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ร่างคำแถลงการณ์ ร่างรัฐธรรมนูญ และหลักกฎหมายปกครองประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจากับต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจภายหลังการปฏิบัติการสำเร็จ แล้วแม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายาม ที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำ เข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน
การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติ ศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนาม เสือป่า
พระปฏิสันถารระหว่างสมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับ ร้อยโทประยูร ภมรมนตรี
ในเวลาประมาณ 08.00 น. ของเช้าวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ที่ทาง ร.ท.ประยูรร่วมกับ พ.ต.หลวงพิบูลสงครามทำหน้าที่ควบคุมตัวเจ้านายระดับสูงและบุคคลสำคัญต่าง ๆ มาไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ในส่วนของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์ทรงมีพระ ปฏิสันถารกับ ร.ท.ประยูร ผู้ที่ทำการควบคุมพระองค์ไว้ ดังปรากฏในหนังสือเบื้องแรกประชาธิปไตย ที่เขียนโดย ร.ท.ประยูร ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์สังคม
อาจกล่าวได้ว่า "กบฏ ร.ศ. 130" เป็นแรงขับดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิบัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญ พิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" และหลวงประดิษฐ์มนูธรรมก็ได้กล่าวในโอกาสเดียวกันว่า "พวกผม ถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องจากการกระทำเมื่อ ร.ศ. 130"
skip to main |
skip to sidebar
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553
เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)
กบฏ ร.ศ. 130 เกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 นานถึง 24 ปี โดยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ มีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต แต่ท้ายที่สุดได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ด้วยทรงเห็นว่าผู้ก่อการมิได้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
1. ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
2. ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
3. ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
4. ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
5. ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
6. ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
7. ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดจาก
เมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไป
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ
จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไป
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมาก
เสือป่าในกองนั้น ส่วนมากก็คือราชการในพระราชสำนัก เป็นกองที่ทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิด จนคนภายนอกที่ไม่ได้เข้า หรือเข้าไม่ได้ ต่างพากันคิดผิดไป จนเกิดความริษยา ในขั้นแรกที่ว่าการเสือป่าในกรุงเทพฯ ก็โปรดปรานให้มีสโมสรเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จที่สโมสรเสือป่าเกือบทุกวัน เพื่อทอดพระเนตรการฝึก สำหรับสโมสรเสือป่านั้น เสื่อป่าทุกชั้น จนถึงพลเสือป่าถึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ข้าราชการและคนอื่นๆ จึงนิยมสมัครเข้าเป็นเสือป่า แต่ผู้ที่เป็นทหารประจำการอยู่แล้ว เข้าไปในสโมสรเสือป่าไม่ได้ ก็เกิดมีความเสียใจว่า ทหารถูกกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าอยู่หัว จึงอยากจะเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่าบ้าง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ และเพราะน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา จึงโปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนั้นได้ โดยต้องสมัครเป็นเสือป่าด้วย เพราะการเป็นนายทหารสัญญาบัตร มิได้หมายความว่าเป็นนายเสือป่าสัญญาบัตรด้วย จึงเกิดเป็นภาพที่ออกจะแปลก เมื่อนายทหารสัญญาบัตร ถึงชั้นอาวุโสในกองทัพบก ทัพเรือ ในตอนเย็นกลับกลายเป็นพลเสือป่าไปฝึกอยู่ที่หน้าสโมสร พระราชวงศ์ถวายการสนับสนุนเรื่องกองเสือป่าเป็นอย่างดี และมักจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมเสื่อป่ารักษาดินแดนมณฑล เช่นทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ทรงเป็นนายกกองเอกพิเศษ ของกองรักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก ทูลกระหม่อมบริพัตร เป็นของมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นในตอนต้นๆ ก็ไม่ทำให้ทหารเลิกรังเกียจเสือป่าได้
แต่ความไม่พอใจของทหารหนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ
1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง
2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง
3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง
4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก
5) ทหารถูกเหยียดหยาม
6) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ
7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร
8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่
9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก
10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง
11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง
12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร
13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก
14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส
15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง
16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง
17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง
การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้
1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด
2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป
3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ
5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
สำหรับคำให้การของ หมอเหล็ง ศรีจันทร์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 มีความตอนหนึ่งว่า
" เพียงมีการหารือกันเพื่อทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณ ให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ มิได้มีการตระเตรียมกำลัง ที่จะยึดอำนาจแต่อย่างใด"
กรรมการท้วงว่า...." ถ้าไม่มีกำลังทหารบีบบังคับแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงยินยอมหรือ..."
หมอเหล็งได้อ้างถึงประเทศญี่ปุ่น ที่พระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ทำให้คณะกรรมการถึงกับอึ้งไป
คำให้การของ ร.ท. เจือ เสนาธิการผู้วางแผนการณ์ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับหมอเหล็ง ศรีจันทร์ แต่ได้เพิ่มเหตุผลบางประการเกี่ยวกับการทหาร โดยเกรงว่าจะไม่เป็นไปตามหลักวิชาเสนาธิปัตย์ ทุกคนได้ศึกษามาจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการทหารในขณะนั้น
คำให้การของ ร.ต. วาส วาสนา เป็นไปแบบขวานผ่าซากว่า..." ตามทัศนะของเขาเห็นว่า ราชการแผ่นดินสมัยนั้น เป็นประหนึ่งตุ๊กตาเครื่องเล่นของประเทศ จะยึดอะไรเป็นล่ำเป็นสันสักอย่างก็ไม่ได้ เขาเป็นมหาดเล็กได้เห็นพฤติกรรมในราชสำนักมาเป็นอย่างดี"
คำให้การของ ร.ต. ถัด รัตนพันธ์ ว่า...." เขาพอใจที่จะคิดเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง เพราะการเล่นโขนเล่นละครเสียเองของประมุขแห่งชาตินั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเลย มีแต่เสื่อมเสียพระเกียรติคุณแก่นานาประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนถึงชาติ และประชาชนอีกด้วย ควรให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นเขาแสดงและจัดการ การมีกองเสือป่าก็เช่นกัน ทำให้สิ้นเปลืองเงินของแผ่นดิน ทำให้ข้าราชการทหารและพลเรือนแตกร้าวกัน ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศเตอรกี...."
ประธานแก้แทนองค์พระประมุขต่างๆ นานา ว่า..."คนเราจะทำงานอย่างเดียวตะพึดตะพือไปได้อย่างไร ต้องมีการเล่นหัวบ้าง เพื่อเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย จะได้ทรงพระราชภาระได้ต่อไปอีกนานๆ..."
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ
1. ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
2. ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
3. ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
4. ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
5. ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
6. ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
7. ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดจาก
เมื่อตอนปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 พ.ศ. 2452 ได้เกิดการทะเลาะวิวาทกันระหว่างทหารราบที่ 1 กับพวกมหาดเล็กบางคนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในการที่ได้มีเหตุวิวาทนั้น ได้ความว่า เพราะเรื่องหญิงขายหมากคนหนึ่ง การทะเลาะวิวาทกันอย่างฉกรรจ์นี้ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงทราบ ก็ได้รับสั่งให้ผู้บังคับบัญชาการทหารราบที่ 2 ทำการสอบสวน และภายหลังการสอบสวนได้ความว่า หัวหน้าคือ ร.อ. โสม ซึ่งให้การรับสารภาพ ดังนั้น ร.อ.โสม กับพวกอีก 5 คน จึงถูกคุมขัง เพื่อรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาต่อไป
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมชนกนาถ ขอให้ลงพระอาญาเฆี่ยนหลังทหารเหล่านั้นตามจารีตประเพณีนครบาล ในการกระทำอุกอาจถึงหน้าประตูวังของรัชทายาท แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย เสด็จในกรมราชบุรี นักกฏหมายได้ชี้แจงว่า ควรจะจัดการไปตามกฏหมาย เพราะได้ใช้ประมวลกฏหมายอาญาเยี่ยงอารยประเทศแล้ว จึงไม่ควรนำเอาจารีตนครบาล ซึ่งได้มีพระบรมราชโองการประกาศยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้อีก แต่คำคัดค้านทั้งหลายไม่เป็นผล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชยังทรงยืนกรานจะให้โบยหลังให้ได้ มิฉะนั้นจะทรงลาออกจากตำแหน่งองค์รัชทายาททันที สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงเห็นการณ์ไกลว่า ถ้าไม่ตามพระทัย เรื่องอาจจะลุกลามกันไปใหญ่โต จึงทรงอนุมัติไปตามคำขอ
จากพฤติกรรมดังกล่าวนี้ ได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ทหารทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนนายร้อยทหารบก พากันไม่ยอมเข้าเรียน แต่ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกขณะนั้น คือสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ได้ทรงอธิบายปลอบโยน ด้วยข้อความอันซาบซึ้งตรึงใจ นักเรียนนายร้อยเหล่านั้นจึงได้ยอมเข้าเรียนตามปกติ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ผ่านไป
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งกองเสือป่าขึ้น และเอาพระทัยใส่ในกิจการนี้เป็นอย่างดี นายทหารรุ่นที่สำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยรุ่นปลาย ร.ศ.128 เรียกรุ่นนั้นว่า "ร.ศ.129" ก็ได้เข้าประจำการตามกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร บางคนยังไม่ลืมเหตุการณ์เฆี่ยนหลังนายทหารตั้งแต่คราวนั้น และยังสะเทือนใจอยู่ และประกอบกับมีความรู้สึกว่า "กองเสือป่า" ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งนั้น ก็มิใช่ลูกเลือ เป็นกิจกรรมที่ตั้งซ้ำกับการทหาร และยังทำงานชิงดีชิงเด่นกับทหารแห่งชาติเสียด้วย ย่อมทำให้ความมั่นคงของชาติเสื่อมสลายลงเป็นอย่างมาก
เสือป่าในกองนั้น ส่วนมากก็คือราชการในพระราชสำนัก เป็นกองที่ทรงสนพระทัยอย่างใกล้ชิด จนคนภายนอกที่ไม่ได้เข้า หรือเข้าไม่ได้ ต่างพากันคิดผิดไป จนเกิดความริษยา ในขั้นแรกที่ว่าการเสือป่าในกรุงเทพฯ ก็โปรดปรานให้มีสโมสรเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จที่สโมสรเสือป่าเกือบทุกวัน เพื่อทอดพระเนตรการฝึก สำหรับสโมสรเสือป่านั้น เสื่อป่าทุกชั้น จนถึงพลเสือป่าถึงเข้าเป็นสมาชิกได้ ข้าราชการและคนอื่นๆ จึงนิยมสมัครเข้าเป็นเสือป่า แต่ผู้ที่เป็นทหารประจำการอยู่แล้ว เข้าไปในสโมสรเสือป่าไม่ได้ ก็เกิดมีความเสียใจว่า ทหารถูกกีดกันไม่ให้เข้าใกล้พระเจ้าอยู่หัว จึงอยากจะเป็นสมาชิกสโมสรเสือป่าบ้าง เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ และเพราะน้ำพระทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณา จึงโปรดให้ทหารเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนั้นได้ โดยต้องสมัครเป็นเสือป่าด้วย เพราะการเป็นนายทหารสัญญาบัตร มิได้หมายความว่าเป็นนายเสือป่าสัญญาบัตรด้วย จึงเกิดเป็นภาพที่ออกจะแปลก เมื่อนายทหารสัญญาบัตร ถึงชั้นอาวุโสในกองทัพบก ทัพเรือ ในตอนเย็นกลับกลายเป็นพลเสือป่าไปฝึกอยู่ที่หน้าสโมสร พระราชวงศ์ถวายการสนับสนุนเรื่องกองเสือป่าเป็นอย่างดี และมักจะได้รับตำแหน่งเป็นผู้บังคับการพิเศษ กรมเสื่อป่ารักษาดินแดนมณฑล เช่นทูลกระหม่อมจักรพงษ์ ทรงเป็นนายกกองเอกพิเศษ ของกองรักษาดินแดนมณฑลพิษณุโลก ทูลกระหม่อมบริพัตร เป็นของมณฑลนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นในตอนต้นๆ ก็ไม่ทำให้ทหารเลิกรังเกียจเสือป่าได้
แต่ความไม่พอใจของทหารหนุ่มหมู่หนึ่งนั้นยิ่งทวีขึ้น เพราะมองเห็นว่า กิจการของกองเสือป่านั้น ไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้การเศรษฐกิจการคลังของประเทศอยู่ในฐานะฝืดเคือง และเป็นการทรมานข้าราชการผู้เฒ่าชราอย่างน่าสงสาร ทั้งยังทำให้กิจการงานเมืองฝ่ายทหาร และพลเรือนต้องอลเวงสับสน ไม่เป็นอันประกอบกิจการงาน เป็นการเสียทรัพย์ เสียเวลา เสียงานของชาติ และบุคคลบางจำพวกที่อยู่ในราชสำนักขณะนั้น ไม่ทราบซึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ของเจ้านายของตนเพียงพอ ปฎิบัติประพฤติตนไปในทำนองผยองตน ต่อข้าราชการและพลเมืองของชาติ ที่ยังจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์ของเขาอย่างแนบแน่น จนเป็นเหตุให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ก็ลงบทความตำหนิ จนผู้ที่มีใจเป็นธรรมต้องเข้าร่วมเป็นพรรคพวกกับทหารหนุ่มๆ เหล่านั้นด้วย แม้แต่กระทั้ง เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระอนุชาของพระองค์ ก็ได้ทรงแสดงพระอาการไม่เป็นที่พอพระทัยมาก จนออกหน้าออกตาความไม่พอใจได้เพิ่มทวียิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ.2454 หรือ ร.ศ. 130 พวกคิดก่อการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ ได้เพิ่มพูนความไม่พอใจขึ้นอีก ด้วยเรื่องของความอิจฉาริษยาเสือป่า ซึ่งถือว่าเป็นหมู่ชนที่ได้รับการโปรดปรานยิ่งกว่าหมู่อื่น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตระเตรียมการปฎิวัติขึ้น และแผนการณ์ปฎิวัตินั้นอยู่ในขั้นรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับจะลอบปลงพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว เลยทีเดียว สมุหฐานที่สำคัญ ในการปฎิวัติครั้งนี้ ที่พอสรุปได้มีดังนี้ คือ
1) เนื่องจากพวกจักรวรรดินิยม กดขี่ข่มเหงประเทศต่างๆ ในเอเซีย และได้แลเห็นประเทศจักรวรรดินิยมเหล่านั้น มีความเจริญในด้านต่างๆ จนสามารถปราบปรามประเทศต่างๆในเอเซีย และเรียนรู้การปกครองของประเทศจักรวรรดินิยมเขาทำกันอย่างไร จึงมีความปรารถนาจะให้ประเทศของตนเป็นไปอย่างยุโรปบ้าง
2) พวกคณะปฎิวัติได้เห็นประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้า ภายหลังที่ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนสามรถรบชนะจีนและรัสเซีย จึงต้องการให้ประเทศสยามมีความก้าวหน้าอย่างนั้นบ้าง
3) เมื่อเห็น ดร.ซุนยัดเซน โค่นบัลลังก์แมนจู เป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 ต้องการให้ประเทศสยามเป็นเช่นนั้นบ้าง
4) คณะปฎิวัติเล็งเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อ่อนแอเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่14 ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง จึงคิดจะปฎิวัติ เพื่อปรับปรุงประเทศอย่างตะวันตก
5) ทหารถูกเหยียดหยาม
6) ความเป็นไปในราชสำนักฟุ่มเฟือย ไร้สารัตถะ
7) ความสิ้นเปลืองเงินแผ่นดินไปโดยไร้ประโยชน์ และมีเหตุอันไม่บังควร
8) มีการแบ่งชั้นวรรณะ ระหว่างผู้ที่เรียกตนเองว่าเจ้า กับไพร่
9) ขุนนางผู้ใหญ่ มีความเสื่อมทรามเหลวแหลก
10) ข้าราชการทำงานเอาตัวรอดไปวันๆ โดยไม่คิดถึงประเทศชาติและบ้านเมือง
11) ราษฎรไม่ได้รับการบำรุงส่งเสริมอย่างจริงจัง
12) ชาวไร่ ชาวนา ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือให้ดีขึ้นตามสมควร
13) ทุพภิกขภัย ความอดอยากหิวโหย แผ่ซ่านไปในหมู่กสิกร เมื่อดินฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก
14) ทั้งที่เกิดความอดอยากยากจนอยู่ทั่วประเทศ แต่ทางราชการกลับเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ราษฎรประสบความเดือดร้อนอย่างสาหัส
15) ผู้รักษากฎหมายใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ประชาชนพลเมือง
16) กดการศึกษาของพลเมือง เพื่อมิให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เทียบเท่าชนชั้นผู้ปกครอง
17) ความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมืองขาดการทำนุบำรุง
การเสียสละครั้งนี้ เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ผลของการประชุมพอสรุปได้ดังนี้
1 จะต้องรีบลงมือทำการปฎิวัติโดยเร็วที่สุด
2 ระบอบการปกครองยังไม่เป็นที่ตกลงให้เลื่อนไปพิจารณาในกาประชุมครั้งต่อไป
3 ให้สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เกลี้ยกล่อม และหาสมาชิกใหม่ตามแนวเดิม ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด
4 แบ่งหน้าที่กันไปตามความถนัด และความสามารถ เช่นหมอเหล็งทำหน้าที่ประสานงานกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่ หมออัทย์ รับหน้าที่ฝ่ายการต่างประเทศ ร้อยโทจรูญ กับนายอุทัย ทางด้านกฎหมาย ร้อยโทเจือ ร้อยโททองดำ ด้านเสนาธิการ และเตรียมแผน ร้อยตรี ม.ร.ว. แช่ รับหน้าที่ออกแบบเครื่องหมายต่างๆของคณะ และอาณัติสัญญาณ นายทหารนอกนั้นให้เป็นฝ่ายคุมกำลัง เมื่อลงมือปฎิวัติ
5 ให้ทุกคนช่วยด้านกำลังเงินคนละ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนที่ได้รับอยู่ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการนี้ การเงินมอบให้นายทะเบียน แล้วนายทะเบียนมอบให้หัวหน้าคณะ นายอุทัยได้มอบเงินให้หัวหน้าโดยตรงเป็นเงิน 1000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
สำหรับคำให้การของ หมอเหล็ง ศรีจันทร์ หัวหน้าคณะปฎิวัติ ร.ศ. 130 มีความตอนหนึ่งว่า
" เพียงมีการหารือกันเพื่อทำหนังสือทูลเกล้าฯถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณ ให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็นลิมิเต็ดมอนากี้ มิได้มีการตระเตรียมกำลัง ที่จะยึดอำนาจแต่อย่างใด"
กรรมการท้วงว่า...." ถ้าไม่มีกำลังทหารบีบบังคับแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงยินยอมหรือ..."
หมอเหล็งได้อ้างถึงประเทศญี่ปุ่น ที่พระมหาจักรพรรดิทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชน ทำให้คณะกรรมการถึงกับอึ้งไป
คำให้การของ ร.ท. เจือ เสนาธิการผู้วางแผนการณ์ ก็เป็นไปในแนวทางเดียวกับหมอเหล็ง ศรีจันทร์ แต่ได้เพิ่มเหตุผลบางประการเกี่ยวกับการทหาร โดยเกรงว่าจะไม่เป็นไปตามหลักวิชาเสนาธิปัตย์ ทุกคนได้ศึกษามาจากทูลกระหม่อมจักรพงษ์ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิในวิชาการทหารในขณะนั้น
คำให้การของ ร.ต. วาส วาสนา เป็นไปแบบขวานผ่าซากว่า..." ตามทัศนะของเขาเห็นว่า ราชการแผ่นดินสมัยนั้น เป็นประหนึ่งตุ๊กตาเครื่องเล่นของประเทศ จะยึดอะไรเป็นล่ำเป็นสันสักอย่างก็ไม่ได้ เขาเป็นมหาดเล็กได้เห็นพฤติกรรมในราชสำนักมาเป็นอย่างดี"
คำให้การของ ร.ต. ถัด รัตนพันธ์ ว่า...." เขาพอใจที่จะคิดเปลี่ยนแปลงประเพณีการปกครอง เพราะการเล่นโขนเล่นละครเสียเองของประมุขแห่งชาตินั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเลย มีแต่เสื่อมเสียพระเกียรติคุณแก่นานาประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนถึงชาติ และประชาชนอีกด้วย ควรให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นเขาแสดงและจัดการ การมีกองเสือป่าก็เช่นกัน ทำให้สิ้นเปลืองเงินของแผ่นดิน ทำให้ข้าราชการทหารและพลเรือนแตกร้าวกัน ซึ่งเคยมีตัวอย่างมาแล้วในประเทศเตอรกี...."
ประธานแก้แทนองค์พระประมุขต่างๆ นานา ว่า..."คนเราจะทำงานอย่างเดียวตะพึดตะพือไปได้อย่างไร ต้องมีการเล่นหัวบ้าง เพื่อเป็นการหย่อนพระราชหฤทัย จะได้ทรงพระราชภาระได้ต่อไปอีกนานๆ..."
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปการปกครองในช่วงหลัง รัชกาลที่ 5 ทรงตระหนักถึงภยันตรายจากการแสวงหาอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และทรงเห็นว่าลักษณะการปกครองของไทยใช้มาแต่เดิมล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความ เจริญก้าวของบ้านเมือง ดังนั้นใน พ.ศ.2430 ทรงเริ่มการปฏิรูปการปกครองแผนใหม่ตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะในส่วนกลางมีการจัดแบ่งหน่วยงานการปกครองออกเป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนไปใช้คำว่า “กระทรวง” แทนโดยประกาศสถาปนากรมหรือกระทรวงต่างๆ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 และยังได้ประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่างๆ ขึ้น ยุบตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ทุกตำแหน่ง มีสิทธิเท่าเทียมกันในที่ประชุม ต่อจากนั้นได้ยุบกระทรวงและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเสียใหม่เหลือไว้เพียง 10 กระทรวง คือ
1.กระทรวงมหาดไทย
2.กระทรวงกลาโหม
3.กระทรวงการต่างประเทศ
4.กระทรวงวัง
5.กระทรวงเมือง(นครบาล)
6.กระทรวงเกษตราธิการ
7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
8.กระทรวงยุติธรรม
9.กระทรวงธรรมการ
10.กระทรวงโยธาธิการ
11.(กระทรวงยุทธนาธิการ)ต่อมาไปอยู่กระทรวงกลาโหมเนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน
12.(กระทรวงมุรธาธิการ)ต่อมาไปอยู่กระทรวงวังเนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน
ส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการรวมอำนาจการปกครองทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้การปกครองหัวเมืองเป็นแบบเดียวกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
แต่เนื่องจากระยะนี้บรรดาประเทศมหาอำนาจต่างกำลังแสวงหาอาณานิคม ประเทศไทยก็ถูกฝรั่งเศสคุกคามอย่างหนัก จนทำให้การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินไปไม่ดีเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้า เนื่องจากพื้นฐานทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของไทยขัดต่อการพัฒนาประเทศตามแบบแผนใหม่ หรือตามแบบประเทศตะวันตก
2. การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ไทยได้เริ่มมีการวางราฐานการปกคารองระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยใช้แบบแผนการปกครองตามอย่างสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วนำมาปรับปรุงใหม่ คือ ในส่วนกลาง ตั้งกระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนภูมิภาค รวมมณฑลต่างๆ เข้าเป็นภาค มีอุปราชและ สมุหเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง กรุงเทพฯ ก็นับเป็นมณฑลหนึ่งมีสมุหพระนครปกครองให้เรียกเมืองต่างๆว่า จังหวัด และ พ.ศ.2461 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองจำลองขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต ชื่อว่า “ดุสิตธานี” และจัดการปกครองเป็นแบบเทศบาล แบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครอง เรียกว่า “ธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พุทธศักราช 2461” รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยให้ข้าราชการบริพารได้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการปกครองในระบอบนี้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นโดยผ่านทาง
3. การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. 2394 พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. 2402
ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้ไทยเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” โดยต่างชาติอ้างว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อนและรังเกียจวิธีการพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาล (คือวิธีการไต่สวนคดีของตุลาการอย่างทารุณ เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯยกเลิก เมื่อ พ.ศ.2439) จึงไม่ยอมให้ใช้บังคับคนต่างชาติหรือคนในบังคับบัญชา ทำให้ไทยต้องทำการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปกฎหมายไทย การปฏิรูปกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อ พ.ศ.2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชุรีดิเรกฤทธิ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาตลับ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย” ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น โดยดำเนินการสอนเอง โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ใน พ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายฉบับใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย ต่อมาได้ประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ.120 กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ2448 ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุม ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อจากที่ทำไว้ใน สมัยรัชกาลที่ 5 และ พ.ศ.2466 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้น
การศาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.2434 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ตุลาการขาดความยุติธรรม ทุจริตตัดสินคดีความล่าช้า เป็นต้น โดยแยกตุลาการออกจากฝ่ายธุรการ และรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ มาไว้ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว และใน พ.ศ.2435 ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านการศาล คือ รวมศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตั้งศาลราชทัณฑ์พิเฉทขึ้น ยกเลิกกรมรับฟ้องโดยตั้งจ่าศาลเป็นพนักงานรับฟ้องประจำศาลต่างๆ ต่อมารวมศาลราชทัณฑ์พิเฉทกับศาลอาญา รวมศาลแพ่งเกษมกับศาลแพ่งไกรศรีเป็นศาลแพ่ง ใน พ.ศ.2441 จัดแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง
ความสำเร็จในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยนั้น นอกจากจะเป็นผลงานของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยที่มีความรู้ความ สามารถ เช่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม องค์แรก และขุนหลวงพระยาไกรสี ผู้พิพากษาไทยคนแรกที่เรียนวิชากฎหมายสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว ไทยยังได้จ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษากฎหมายอีก ด้วย บุคคลสำคัญ ได้แก่ นายโรลัง ยัคมินส์ ขาวเบลเยี่ยม นายโตกิจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น นายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวลังกา และนายยอร์ช ปาดู ชาวฝรั่งเศส
1.กระทรวงมหาดไทย
2.กระทรวงกลาโหม
3.กระทรวงการต่างประเทศ
4.กระทรวงวัง
5.กระทรวงเมือง(นครบาล)
6.กระทรวงเกษตราธิการ
7.กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
8.กระทรวงยุติธรรม
9.กระทรวงธรรมการ
10.กระทรวงโยธาธิการ
11.(กระทรวงยุทธนาธิการ)ต่อมาไปอยู่กระทรวงกลาโหมเนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน
12.(กระทรวงมุรธาธิการ)ต่อมาไปอยู่กระทรวงวังเนื่องจากมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน
ส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกการจัดเมืองเป็นชั้นเอก โท ตรี จัตวา เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบเทศาภิบาล คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าด้วยกันเป็นมณฑลๆ หนึ่ง โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครองมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย การจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้เป็นการรวมอำนาจการปกครองทั้งด้านการเมือง และเศรษฐกิจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้การปกครองหัวเมืองเป็นแบบเดียวกันและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นเมือง(จังหวัด) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามลำดับ
แต่เนื่องจากระยะนี้บรรดาประเทศมหาอำนาจต่างกำลังแสวงหาอาณานิคม ประเทศไทยก็ถูกฝรั่งเศสคุกคามอย่างหนัก จนทำให้การพัฒนาประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 ดำเนินไปไม่ดีเท่าที่ควรและเกิดความล่าช้า เนื่องจากพื้นฐานทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของไทยขัดต่อการพัฒนาประเทศตามแบบแผนใหม่ หรือตามแบบประเทศตะวันตก
2. การวางฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ไทยได้เริ่มมีการวางราฐานการปกคารองระบอบประชาธิปไตย มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 โดยใช้แบบแผนการปกครองตามอย่างสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วนำมาปรับปรุงใหม่ คือ ในส่วนกลาง ตั้งกระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ ในส่วนภูมิภาค รวมมณฑลต่างๆ เข้าเป็นภาค มีอุปราชและ สมุหเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง กรุงเทพฯ ก็นับเป็นมณฑลหนึ่งมีสมุหพระนครปกครองให้เรียกเมืองต่างๆว่า จังหวัด และ พ.ศ.2461 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองจำลองขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต ชื่อว่า “ดุสิตธานี” และจัดการปกครองเป็นแบบเทศบาล แบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องที่ มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครอง เรียกว่า “ธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล (ดุสิตธานี) พุทธศักราช 2461” รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการทดลองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยให้ข้าราชการบริพารได้เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการปกครองในระบอบนี้ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นโดยผ่านทาง
3. การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาล สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. 2394 พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. 2402
ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้ไทยเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” โดยต่างชาติอ้างว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อนและรังเกียจวิธีการพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาล (คือวิธีการไต่สวนคดีของตุลาการอย่างทารุณ เช่น การตอกเล็บ บีบขมับ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯยกเลิก เมื่อ พ.ศ.2439) จึงไม่ยอมให้ใช้บังคับคนต่างชาติหรือคนในบังคับบัญชา ทำให้ไทยต้องทำการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปกฎหมายไทย การปฏิรูปกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อ พ.ศ.2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชุรีดิเรกฤทธิ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาตลับ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย” ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น โดยดำเนินการสอนเอง โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ประกาศใช้ใน พ.ศ.2451 จัดเป็นกฎหมายฉบับใหม่และทันสมัยที่สุดฉบับแรกของไทย ต่อมาได้ประกาศใช้กฎหมายอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 พระราชบัญญัติสิทธิ์ผู้แต่งหนังสือ ร.ศ.120 กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส พ.ศ2448 ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการปฏิรูปภาษากฎหมายไทยให้รัดกุม ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ดำเนินงานร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อจากที่ทำไว้ใน สมัยรัชกาลที่ 5 และ พ.ศ.2466 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขึ้น
การศาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.2434 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ตุลาการขาดความยุติธรรม ทุจริตตัดสินคดีความล่าช้า เป็นต้น โดยแยกตุลาการออกจากฝ่ายธุรการ และรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ มาไว้ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว และใน พ.ศ.2435 ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านการศาล คือ รวมศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตั้งศาลราชทัณฑ์พิเฉทขึ้น ยกเลิกกรมรับฟ้องโดยตั้งจ่าศาลเป็นพนักงานรับฟ้องประจำศาลต่างๆ ต่อมารวมศาลราชทัณฑ์พิเฉทกับศาลอาญา รวมศาลแพ่งเกษมกับศาลแพ่งไกรศรีเป็นศาลแพ่ง ใน พ.ศ.2441 จัดแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง
ความสำเร็จในการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยนั้น นอกจากจะเป็นผลงานของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการไทยที่มีความรู้ความ สามารถ เช่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม องค์แรก และขุนหลวงพระยาไกรสี ผู้พิพากษาไทยคนแรกที่เรียนวิชากฎหมายสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตอังกฤษแล้ว ไทยยังได้จ้างนักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษากฎหมายอีก ด้วย บุคคลสำคัญ ได้แก่ นายโรลัง ยัคมินส์ ขาวเบลเยี่ยม นายโตกิจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น นายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวลังกา และนายยอร์ช ปาดู ชาวฝรั่งเศส
การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ด้านการปกครอง
1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง
ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่
1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )
1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง )
1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )
1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา )
กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง
กรม วัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์
กรมคลัง หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี
ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์
ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง
กรมนา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์
2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
2.1 หัวเมืองชั้นใน
2.2 หัวเมืองชั้นนอก
2.3 หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบ กล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )
หัวเมืองที่สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง
หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม
ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ล้านช้าง หรือ ลาว ( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )
ด้านกฎหมายและการศาลไทย
กฎหมาย ไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตกัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพรมหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
ในการไต่สวน พิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของ ตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1
1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง
ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่
1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย
1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )
1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง )
1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )
1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา )
กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่ง
กรม วัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์
กรมคลัง หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดี
ฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์
ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลัง
กรมนา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์
2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
2.1 หัวเมืองชั้นใน
2.2 หัวเมืองชั้นนอก
2.3 หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบ กล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก
หัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม
หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )
หัวเมืองที่สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราด
เมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลา
เมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง
หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงคราม
ประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ล้านช้าง หรือ ลาว ( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )
ด้านกฎหมายและการศาลไทย
กฎหมาย ไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตกัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพรมหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
ในการไต่สวน พิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของ ตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1
...ฺัBYe BYe...
เกี่ยวกับฉัน
... What T-i-m-e...
DaY ^^
.